การศึกษาใหม่จากมหาวิทยาลัยจอร์เจียระบุว่าเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ (online social network) เช่น Facebook เป็นเครื่องมืออย่างดีในการจับว่าใครหลงตัวเอง นักวิจัยพบว่าคนที่หลงตัวเองจะใช้ facebook เพื่อนำเสนอตัวเองด้วยแนวที่คนอื่นสามารถจับได้ งานวิจัยนี้จะตีพิมพ์ลงวารสาร Personality and Social Psychology Bulletin ซึ่งทำการศึกษาโดยให้ผู้ใช้ Facebook กว่า 130 คนตอบแบบสอบถาม และวิเคราะห์เนื้อหาในหน้า facebook และที่มีคนแปลกหน้าที่ไม่ไม่เคยเล่นมาดู และให้ให้คะแนนความประทับใจของตัวเองตามความหลงตัวเองในหน้านั้น
นักวิจัยพบว่า จำนวนเพื่อใน facebook และการเขียนเรื่องราวของแต่ละคนในหน้าข้อมูลของตัวเองมีความสัมพันธ์กับความหลงตัวเอง ซึ่งมีความสอดคล้องกับความหลงตัวเองในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย ด้วยการมีความสัมพันธ์จำนวนมากที่ไม่มีความลึกซึ้ง ความหลงตัวเองยังดูออกจาการเลือกภาพที่มีเสน่ห์หรือภาพนำเสนอตัวเองในหน้าข้อมูลส่วนตัว โดยคนอื่นจะใช้เพียงรูปถ่ายธรรมดา
ผู้ที่ไม่เคยใช้สามารถจับความหลงตัวเองนี้ได้ด้วย นักวิจัยพบว่าคนที่มองจะใช้รูปแบบ 3 ประการในการมองคือ ปริมาณปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความหน้าดึงดูดใจของแต่ละคน และ ระดับการนำเสนอตัวในรูปถ่ายหลัก เพื่อระบุความประทับใจในบุคคิกของแต่ละคน ผลที่ได้แม้่ว่าจะไม่สมบูรณ์แต่ก็แสดงให้เห็นความละเอียดในการตัดสินบางอย่างได้
ความหลงตัวเองเป็นการแสดงออกความน่าสนใจอย่างหนึ่ง เพราะมันหยุดความสัมพันธ์ระยะยาว และความสามารถที่ดีไป ความหลงตัวเองมักเริ่มต้นด้วยเสน่ห์แต่มักจบลงเมื่อตัวเองได้ผลประโยชน์นั้น ความหลงตัวเองทำร้ายคนไปทั่วและจะทำร้ายตัวเองในระยะยาว
การเจริญเติบโตที่ใหญ่โตของเว็บไซต์เครือข่ายสังคม อย่างเช่น Facebook ที่มียอดคนใช้กว่า 100 ล้านคนในตอนนี้ ทำให้นักจิตวิทยาสินใจการแสดงออกของบุคลิกส่วนตัวของคนผ่านอินเทอร์เนต นักวิจัยเลือก facebook เพราะว่ามีความนิยมสูงในนักศึกษามหาวิทยาลัยและเพราะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้ใช้ง่ายขึ้นจนทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้เปรียบเทียบหน้าของแต่ละคนได้
นักวิจัยในอดีตบางคนพบว่าหน้าเว็บส่วนตัวเป็นที่นิยมมากในหมู่พวกหลงตัวเอง แต่นักวิจัยปัจจุบันระบุว่าไม่มีหลักฐานที่จะระบุว่าคนใช้ Facebook มีความหลงตัวเองมากกว่าคนอื่น นักศึกษาเกือบทั้งหมดใช้ Facebook และดูเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งพวกที่หลงตัวเองก็จะใช้ Facebook ในทางเดียวกับความสัมพันธ์ทางอื่น เพื่อนำเสนอตัวเองด้วยการเน้นย้ำปริมาณมากกว่าคุณภาพ
นักวิจัยย้ำว่าด้วยการที่พวกหลงตัวเองมีจำนวนเพื่อนเยอะใน Facebook ผู้ใช้ที่หลงตัวเอง Facebook จะมีเพื่อนออนไลน์เยอะกว่าจำนวนที่พวกหลงตัวเองมีเพื่อนในโลกจริง แต่ก็เป็นการด่วนสรุปเกินไปในการทำนายถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอของคนธรรมดา ซึ่งการศึกษาสังคมออนไลน์นั้นเพิ่งเป็นจุดเริ่มต้น
เรามีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมใน 4 หรือ 5 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันนักศึกษาในอเมริกาส่วนใหญ่ก็ใช้ Facebook ในการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ซึ่งนี้เป็นสิ่งใหม่ของสังคมออนไลน์ที่เราเพิ่งเริ่มต้นเข้าใจมัน
ที่มา - physorg.com
เอกสารอ้างอิง - Personality and Social Psychology Bulletin
Monday, 24 August 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 ความคิดเห็น on "จับคนหลงตัวเองด้วย Facebook"
Post a Comment